ufabet

การพูดกับเด็กสมาธิสั้น

การสื่อสารกันเด็กสมาธิสั้น

ข้อจำกัด และผลกระทบต่อการสื่อสารในเด็กสมาธิสั้นเด็กที่เป็นโรคสมาสั้นจะมีลักษณะพูดแทรกคนอื่นไม่คิดก่อนพูดและทำฟังคำถามไม่จบก็รีบตอบและอาจขัดจังหวะที่กำลังพูดอีกทั้งเป็นเด็กที่หงุดหงิดโมโหง่ายเมื่อรู้สึกไม่พอใจก็จะตอบโต้รุนแรงก้าวร้าวจึงทำให้มีความยุ่งยากในการสร้างสัมพันธภาพและอยู่ร่วมกับผู้อื่น

การพูดกับเด็กสมาธิสั้น

การสื่อสารเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยการเรียนรู้มีการฝึกฝนและอยู่บนพื้นฐานของเจคคติที่ดีต่อกันจึงจะทำให้การสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพโดยปกติการสื่อสารกับลูกสมาธิสั้นมักมีการตอบโต้รุนแรงบางครั้งอาจถึงขั้นก้าวร้าวทำให้พ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องคอยตักเตือนหรือตำหนิอยู่เสมอ ๆ จึงเป็นผลทำให้เกิดความไม่พอใจด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายและมักพบว่าการพูดคุยกันในครอบครัวพ่อแม่หรือผู้ปกครองจะจบการพูดคุยด้วยการสอนและเด็กจะตอบสนองด้วยการไม่ฟังหรือหันหน้าไปทางอื่น

ufabet

เมื่อเด็กสมาธิสั้นมีข้อจำกัด ในการฟังจนจบไม่ได้ดังนั้นการสื่อสารในเด็กสมาธิสั้นจึงควรเน้นน้ำเสียงและท่าทีการแสดงออกด้วยสายตาที่เป็นมิตรด้วยการ

  1. พูดสั้น
  2. ชัดเจน
  3. ใช้น้ำเสียงนุ่นนวลปกติ
  4. ไม่ใช้อารม

สิ่งที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรกระทำในการพูดกับลูก

  • ชี้บอกสิ่งที่ดีหรือไม่ดี
  • บอกตรง ๆ และสั้นกระชับ
  • มองสบตาด้วยสัมพันธภาพที่ดี
  • พูดให้จบเป็นเรื่อง ๆ ที่ละเรื่อง
  • ไม่ควรรีบสรุป
  • พูดในภาวะปัจจุบัน
  • ถามความคิดเห็น
  • ถามด้วยคำพูดที่สุภาพ
  • พูดตามความรู้สึกถ้าอยากพูด
  • ฟังอย่างระมัดระวังและทบทวนดูว่าท่านได้ยินอะไรและไม่เห็นด้วยให้แสดงท่าที่ที่สงบ

ถ้าพ่อแม่หรือผู้ปกครองโกรธควรบอกความรู้สึกของตนเองด้วยคำพูดที่ไม่ทำให้ใครรู้สึกถูกตำหนิหรือเดือดร้อนเช่น“ แม่โกรธแล้วนะที่หนูทำเช่นนี้ “และแสดงท่าที่ให้รู้ว่าโกรธจริงๆ

ufabet

เมื่อเด็กทำดีต้องชมเชย, ชื่นชมหรือขอบใจกรณีผู้ปกครองทำผิดก็สามารถกล่าวคำขอโทษเด็กได้

คำสั่งที่มีประสิทธิภาพ

ควรออกคำสั่งให้ชัดเจน เช่น เมื่อพ่อแม่หรือผู้ปกครองต้องการให้เด็กร่วมมือในการทำงาน *ต้องแน่ใจว่าเป็นคำสั่งไม่ใช่สั่งเชิงถาม เช่น

“ทำไมหนูไม่เก็บของเล่นเดี๋ยวนี้” หรือ“ ได้เวลาอาหารแล้วต้องล้างมือใช่ไหม” เพราะคำสั่งเชิงถามหรือคำพูดที่ดูไม่ใช่คำสั่งจะทำให้เด็กไม่สนใจตอบหรือไม่ปฏิบัติตาม ควรเปลี่ยนคำสั่งให้ชัดเจนเช่น “เก็บของเล่นเดี๋ยวนี้” หรือ “ได้เวลาอาหารแล้วไปล้างมือ”

เมื่อต้องการใช้คำสั่ง พ่อแม่หรือผู้ปกครองไม่ควรตะโกน ให้เดินเข้าไปใกล้ตัวเด็กแล้วสั่งด้วยท่าที่หนักแน่นและพูดเสียงเข้มเวลาสั่งต้องแน่ใจว่าเด็กสนใจท่านโดยเด็กต้องมองตาท่านและกำลังฟังอย่างตั้งใจพ่อแม่หรือผู้ปกครองควรปล่อยให้สิ่งที่เด็กกำลังสนใจอยู่จบก่อน เช่น เกม วีดีโอ แล้วจึงใช้คำสั่งติดแผ่นกระดาษไว้กันลืมงานที่ต้องการให้เด็กกระทำ

กำหนดเวลาเสร็จงานที่ชัดเจนให้เด็กทราบล่วงหน้า เช่น ให้เสร็จก่อนบ่ายสามโมง เป็นต้น

คำพูดที่ควรหลีกเลี่ยง

  • การออกคำสั่งชี้แนะที่เป็นการบังคับ
  • การเตือนหรือขู่
  • การเทศนาสั่งสอน
  • การหว่านล้อมโต้เถียง
  • การแนะนำหรือเสนอแนะที่ไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายชี้แจง
  • ประเมินวิจารณ์
  • เยินยอเกินความเป็นจริง
  • วินิจฉัยหรือตัดสินว่าอีกฝ่ายถูกหรือผิด
  • เปลี่ยนเรื่องฝานเลย
  • ยั่วแหย่กลบเกลื่อน

ติดตามเนื้อหาดีๆ น่าอ่านได้ที่ your-free-tarot.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated